ราชการและบรรดาศักดิ์ ของ เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล)

เจ้าพระยาพิศณุโลก (เรือง) เริ่มรับราชการตั้งแต่วัยเยาว์ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) แต่ไม่ปรากฏตำแหน่งใด กรมใด บรรดาศักดิ์เท่าที่ปรากฏไว้มีดังนี้

  • หลวงมหาอำมาตยาธิบดี (เรือง) ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ไม่ทราบศักดินา)
  • พระราชฤทธานนพหลภักดี (เรือง) ศักดินา 3000 ตำแหน่งพระปลัดเมืองพระพิษณุโลก รั้งหัวเมืองพิษณุโลก ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (หัวเมืองพิษณุโลกมีปลัดเมือง 2 คน ไม่ปรากฏชื่อปลัดขุนนางคนที่ 2)
  • พระยาพิศณุโลก (เรือง) ศักดินา 10000 (พระยาพานทอง) ตำแหน่งเจ้าเมืองพระพิษณุโลก สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ขึ้นกับกรมมหาดไทย เมืองพิษณุโลก ปรากฏราชทินนามว่า พระยาสุรสุนทรบวรพิศณุวาธิราช ชาติพัทยาธิเบศวรธิบดี อภัยพิรียบรากรมภาหุ [11]
  • เจ้าพระยาพิศณุโลก (เรือง) ศักดินา 10000 (บรรดาศักดิ์ขุนนางชั้นสูงสุด) ตำแหน่งเจ้าเมืองพระพิษณุโลก สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร และสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) พ.ศ. 2302 ปรากฏราชทินนามว่าเจ้าพระยาสุรสีห์พิศณุวาธิราช ชาติพัทยาธิเบศวรธิบดี อภัยพิริยบรากรมภาหุ สำหรับตำแหน่งเจ้าพระยามหานครผู้ครองหัวเมืองชั้นเอกดัง ให้รับราชการเจ้าเมืองที่เมืองพิษณุโลก แม้ไม่ได้เป็นเจ้านายแต่ก็ยังอยู่ในฐานะพิเศษ เพราะเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองหลวงในช่วงที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงครองราชย์ในช่วงราชอาณาจักรอยุธยาซึ่งเป็นช่วงที่มีส่งครามยืดเยื้อกับอาญาจักรล้านนา ไม่เพียงแต่เป็นเมืองพระมหาอุปราช แต่ยังเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่คอยดูแลหัวเมืองเหนือทั้งหมดและดูเหตุการณ์ด้านเมืองพม่าและเมืองมอญ

เจ้าพระยาสุรสีห์ ฯ นั้นเป็นราชทินนามประจำเจ้าเมืองพิษณุโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สำหรับขุนนางบรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยา และพระญาติพระวงศ์ที่ครองหัวเมืองพิษณุโลก

  • พระเจ้าพิศณุโลก (เรือง) (หรือ King Ruang) [12] [13] [14] [15] [16] ราชาภิเษกตนเองเป็นพระมหากษัตริย์ครองหัวเมืองพิษณุโลก [17] [18] เมื่อ พ.ศ. 2311 สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยจัดพระราชพิธีราชาภิเษกตามระบบจารีตประเพณีของอาณาจักรอยุธยา มีพระราชปุโรหิตาจารย์ในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ขุนนางหัวเมืองขั้นโทชั้นตรีรอบเมืองพิษณุโลกต่างๆ และขุนนางที่หลบหนีมาจากกรุงศรีอยุธยาครั้นกรุงแตกจำนวนมากร่วมพระราชพิธีดังกล่าว ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินเมืองพิษณุโลก หัวเมืองชั้นเอก ครอบคลุมทั้ง 7 มณฑล พระเจ้าพิศณุโลก (เรือง) มีพระราชประสงค์ต้องการรวบเข้ากับชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ให้เป็นปึกแผ่นเพื่อให้มีพระราชอำนาจครอบคลุมหัวเมืองเหนือทั้งหมด โดยพยายามยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ถึง 3 ครั้ง รวมทั้งยังมีความพยายามที่จะบูรณะฟื้นฟูพระราชวังจันทน์เพื่อใช้เป็นที่ประทับ โดยพบร่องรอยหลักฐานบางประการภายในบริเวณพระราชวังเก่านี้ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเจ้าเมืองพิษณุโลก [19] ก่อนเสด็จสวรรคตด้วยโรคฝีละลอกในคอในฤดูน้ำหลาก

หมายเหตุ:

1) สันนิษฐานว่าอาจจะได้ตั้งบรรดาศักดิ์ชั้นพระยา และเจ้าพระยาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เนื่องจากไม่พบหลักฐานว่าสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ตั้งเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เพราะขณะนั้นเป็นช่วงฉุกละหุกเกิดการสับเปลี่ยนกษัตริย์ภายในราชวงศ์ ประกอบกับหัวเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองเอกที่เป็นหน้าด่านเกิดสงครามบ่อยครั้ง อย่างไรก็ตามปรากฏบรรดาศักดิ์เด่นชัดของเจ้าพระยาพิศณุโลก (เรือง) ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ เมื่อได้ทรงครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร

2) สันนิษฐานว่าเจ้าพระยาพิศณุโลก (เรือง) อาจเกี่ยวดองกับราชวงศ์บ้านพลูหลวงในฐานะเครือญาติ ได้รับการไว้วางพระทัยให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนหัวเมืองพิษณุโลกทุกรัชสมัย และมีการกล่าวถึงในพระนิพนธ์เรื่อง ไทยรบพม่า ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอนเจ้าฟ้าจีดพาพรรคพวกหนีไปยังเมืองพิษณุโลกว่าทำนองจะเกี่ยวดองว่าเป็นญาติกับเจ้าพระยาพิศณุโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง

3) เจ้าเมืองพิษณุโลกทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาร่วมกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ [20]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri... http://www.sammajivasil.net/sripen/sriphen.htm http://www.gotoknow.org/blogs/posts/155814 http://www.phyathaipalace.org http://www.navy.mi.th/navic/document/910802b.html https://writer.dek-d.com/lanzadeluz/story/view.php... https://www.facebook.com/ThailandhistoryOFwarehous... https://sites.google.com/site/thailandsurname/home... https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_94199... https://www.thairath.co.th/novel/Sailohit/ep6/page...